ปัจจุบัน นามสกุลโดเมนเนม มีอยู่จำนวนมาก หลายร้อยนามสกุล แต่นามสกุลที่ยังได้รับความนิยมสูงอยู่ยังหนีไม่พ้น .COM .NET .ORG .INFO .BIZ ... ด้วยความที่เป็นนามสกุลที่มีมาก่อน และกับผู้ใช้มีความเคยชิน และเป็นที่รู้จักอย่างดี รวมถึงมีจำนวนโดเมนเนม ที่จดทะเบียนภายใต้นามสกุลดังกล่าวเป็นจำนวนมาก ส่งผลให้ชื่อโดเมนที่มีความหมาย หรือ ชื่อโดเมนที่สั้นจำง่าย มีมูลค้าสูง และหาจดทะเบียนได้ยากในปัจจุบัน ทางไอเรียลลี่โฮส จึงได้เขียนบทความแนะนำนี้ขึ้น เพื่อเป็นส่วนหนึ่งเพื่อแนะนำ ให้ความรู้ สำหรับผู้ต้องการจดชื่อโดเมนเนมสักชื่อ ให้เหมาะสมกับการใช้งาน
- แบ่งตามประเภท และความหมาย ของนามสกุล เช่น .asia หมายถึง โดเมนหรือเว็บไซต์ ในแทบเอเชีย , .edu โดเมนสำหรับทางสถาบันการศึกษา
- แบ่งตามประเทศ เช่น .TH หมายถึง โดเมนเนม ในประเทศไทย
แต่ทั้งนี้โดเมนเนมทุกนามสกุล ก็สามารถจดทะเบียน และใช้งานได้ทั่วโลก และสามารถใช้งานนามสกุลโดเมนเนม ตรงตามประเภทเว็บไซต์ หรือ ไม่ตรงตามประเภทก็ได้ แต่จะมีเพียงบางนามสกุลเท่านั้น ที่มีนโยบายการขอจดทะเบียนอย่างเข้มงวด เช่น .CO.TH จดทะเบียนได้เฉพาะนิติบุคคลในประเทศไทย และชื่อที่จดทะเบียนต้องตรงกับชื่อนิติบุคคล หรือชื่อเครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียนเท่านั้น เป็นต้น
หลักการพิจารณาการตั้งชื่อโดเมนเนม ( Domain name ) ที่จะจดทะเบียนใหม่
ชื่อโดเมน ควรเป็นชื่อที่สั้น มีจำนวนพยางค์แต่น้อย เพื่อให้ผู้พบเห็นจดจำได้ง่าย
หากเป็นบริษัทห้างร้าน ควรใช้ชื่อโดเมนเป็นชื่อเดียวกับบริษัท หรือผลิตภัณฑ์นั้นๆ
ชื่อโดเมน ควรเป็นชื่อ ที่มีความหมายเกี่ยวข้องกับเนื้อหาเว็บไซต์ (หรือไม่ก็ได้)
ชื่อโดเมน สามารถเลือกคำที่เกี่ยวข้อง ผสมกันได้
ชื่อโดเมน เราสามารถคิด แต่งชื่อได้อย่างอิสระเสรี
ข้อควรหลีกเลี่ยงการตั้งชื่อโดเมน
การเลือกตั้งชื่อโดเมน ที่ผู้อื่น จดจำได้ยาก
หลีกเลี่ยงการใช้ ขีดกลาง (-) ในชื่อโดเมน ยกเว้นในกรณีที่ชื่ออาจทำให้อ่านชื่อโดเมนได้สับสนเพราะเวลาเรียกคนพูดถึงจะไม่พูดถึงขีดกลางด้วย
ชื่อโดเมน ที่มีเครื่องหมายการค้า ของผู้อื่นอยู่ในชื่อ
สรุป : การตั้งชื่อโดเมนเนม ก็เหมือนกับ การบอกที่อยู่ ให้กับผู้อื่นได้ทราบ ควรเป็นสิ่งที่จดจำง่าย หรือ มีความหมาย หรือ เป็นชื่อที่น่าจดจำ ชื่อโดเมนจะไม่สามารถจดซ้ำกับผู้อื่นได้ จนกว่าชื่อโดเมนนั้นๆ จะหมดอายุ หรือ มีสถานะว่าง
ข้อแนะนำ : ปัจจุบันชื่อโดเมน บางชื่อมีมูลค้า ตั้งแต่หลักร้อย ถึง หลายล้าน หรือ หลายหมื่นล้าน นอกจากการเลือกผู้ให้บริการจดโดเมนที่มีความน่าเชื่อถือแล้ว เจ้าของผู้ยื่นจดทะเบียน ควรตรวจสอบสิทธิความเป็นผู้ถือครองโดเมน จากข้อมูล Whois ในโดเมน โดยเฉพาะ ชื่อ-นามสกุล และอีเมล์ ซึ่งในเชิงนโยบาย ถือเป็นข้อมูลที่แสดงความเป็นผู้ครอบครองโดเมนเนมและสามารถใช้อ้างอิงสิทธิได้ตามกฎหมายในระดับสากล